วัดทัพคล้าย ต.ทัพลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ผ้าทอทัพคล้าย

จากการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลจากคนเฒ่าคนแก่ของ   นายวรวุฒิ    ทองสี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐  จนถึงปัจจุบันนี้ รวมความได้ว่า    การทอผ้าเป็นความรู้ที่คิดค้นมากับบรรพบุรุษตั้งแต่ถูกกวาดต้อนมาจากนครหลวงพระบาง   นครเวียงจันท์ประเทศลาวในสมัยกรุงธนบุรีตอนปลายและมายังประเทศไทย ต่อมาได้ถูกกวาดต้อนมาต่อต้านทัพพม่าและเป็นกองสอดแนม   ณ  ดินแดน อันที่ตั้งของอำเภอบ้านไร่  ที่บ้านทัพคล้าย   คราวสงครามเก้าทัพ  หลังจากรวมกลุ่มกันเป็นหลักแหล่ง จึงได้ทำอุปกรณ์การทอผ้าและกี่ขึ้นอย่างง่าย ๆ  เพื่อทอผ้าไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน   โดยขอเมล็ดฝ้ายจากชนเผ่ากระเหรี่ยงซึ่งเป็นชนเผ่าดั่งเดิม ใช้เสื้อผ้าที่สวมใส่ติดตัวมาเป็นตัวอย่างในการฟื้นฟูฝีมือ    จากอดีดถึงปัจจุบัน การทอผ้าได้ถูกถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกจากลูกสู่หลานมาหลายชั่วอายุคน  ประมาณได้ว่า  การทอผ้าของอำเภอบ้านไร่  มีมาแล้วกว่า  ๒๐๐ ปี

อุปกรณ์และเครื่องมือในการทอผ้า

การทอผ้าที่จะกล่าวถึงเป็นวิธีการทอผ้าแบบพื้นบ้านของชุมชนอำเภอบ้านไร่  ที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน   ดังนั้นภาษาที่ใช้เรียกชื่อวัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือจะเป็นภาษาถิ่นทั้งสิ้น สำหรับการทอผ้าจะต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือดังต่อไปนี้


“อิ้ว”  คือเครื่องมือแยกเมล็ดฝ้าย

กง” หรือ “คันธนู” คือเครื่องมือดีดฝ้ายให้ฟูแตกตัวออกจากกัน

หลา” คือเครื่องมือทำฝ้ายให้เป็นเส้นด้ายด้วยเหล็ก(เหล็กแหลม)

“เปีย” คืออุปกรณ์ม้วนด้ายจากหลาให้เป็นไจหรือให้เป็นกลุ่ม

“กวัก”คือเครื่องมือการกรอด้ายให้เป็นกลุ่มใหญ่เพื่อทำเป็นด้ายยืนและด้ายพุ่ง

เผี่ยน คือ เครื่องมือกรอด้ายใส่หลอดไม้ เพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง

เฝียมือ  คือ  เป็นอุปกรณ์สำหรับเดินด้ายเพื่อทำเป็นด้ายยืนหรือเครือหูก

“ฟืม” คือเครื่องตีเส้นด้ายเพื่อจัดให้ด้ายเข้าชิดกันเป็นเนื้อผ้าหรือเรียกว่า  ตั่ม

“กี่”  คือ  อุปกรณ์ขึงด้ายยืนที่ผ่านการต่อด้ายเข้ากับฟืมเป็นที่เรียบร้อยแล้วหรือที่ได้ สืบหูกแล้วเพื่อพร้อมที่จะทอเป็นผืน

“ตั่มหูก”  (ตั่ม  หมายถึงการทอผ้า)


.

view